วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เขียนซีดีให้ได้ Over ถึง 850MB

เขียนซีดีให้ได้ Over ถึง 850MB

ปกติแล้วแผ่นซีดี 1 แผ่นจะเก็บข้อมูลได้สูงสุดไม่เกิน 700MB แต่วันนี้นายเกาเหลาจะขอสร้างปาฏิหาริย์ ด้วยการเขียนข้อมูลให้ได้ความจุถึง 850 MB บอกก่อนนะครับว่าไม่ได้โม้ แต่ทำได้จริง ก่อนอื่น CD – Writer ของคุณจะต้องรองรับเขียนแผ่นแบบ Overburn หรือเขียนแบบ Oversize ได้ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว CD- Writer ในปัจจุบันก็สามารถใช้งานแบบนั้นได้อยู่แล้ว (นอกเสียจากว่า CD-Writer จะเป็นรุ่นเจ้าคุณทวด อันนี้ก็คงต้องบายทิปนี้ไป)

คราวนี้ให้เปิด โปรแกรม Nero Express ไปเมนู Configure แล้วไปที่TAP General จากนั้นมาที่รายการ Status bar ในหัวข้อ Yellow marker ใส่ตัวเลข 80 ส่วนช่อง Red marker ใส่ตัวเลข 99 จากนั้นมาที่ TAP Expert Features ใส่เครื่องหมายถูกหน้าข้อความ Enable Overburn Disk –at –onc และในช่อง Maximum CD size ใส่เลข99 ลงไปครับ ที่นี้เรามาลองเขียนแผ่นซีดีดู โดยตัวอย่างนี้ผมจะเลือกไฟล์ขนาด 850 MB มาลองเขียนลงไปบนแผ่นซีดีขนาด 700 MB อย่าลืมเลือกการเขียนแผ่นแบบ Disk –at – once จากนั้นก็ Burn แผ่นได้เลย

ระบบ จะแจ้งว่า Over Burn Writing ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจอะไรเพราะนี่คือการเขียนเกินขอบเขตของระบบทำให้คอมพ์มัน ถามยืนยันว่าจะเขียนแน่เหรอ เราก็ตอบไปว่าแน่นอน โดยกดที่ปุ่ม Write Overburn Disc แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับท่าน

แน่นอนว่าเมื่อมีดีมันก็ ย่อมมีเสีย โดยข้อเสียของการทำ Overburn คือ มันอาจจะทำให้มีการกระตุกหากมีการใช้งานกับไดรฟ์ CD-Rom บางรุ่น (ที่อาจจะไม่รองรับการเขียน –อ่าน Overburn) หรือบางทีอาจจะอ่านไม่ได้เลยก็มีเพราะมันไม่สามารถเคลื่อนหัวอ่านไปถึง พื้นที่บางจุดบางแผ่น เช่น ขอบด้านนอกของแผ่น เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Domain Name System (DNS) ทำงานอย่างไร

ในขณะที่เรากำลังใช้ Browser ในการค้นหาข้อมูลหรือใช้งานต่าง ๆ ใน Internet นั้น เมื่อใดที่เราทำการ พิมพ์ที่อยู่จุดหมายปลายทางที่เราต้องการจะเข้าไปดู เช่น www.sanook.com, www.thairath.co.th จะเห็นว่าเป็นชื่อ ที่สามารถจำได้ง่าย ๆ แทนที่จะต้องจำว่าเป็น 203.107.136.6 หรือ 203.151.217.25 ตามลำดับ จากความสำคัญเล็ก ๆ น้อย เหล่านี้ ทำให้ชีวิตเราทำอะไรได้ง่ายขึ้นแต่เบื้องหลังเหล่านี้มีกลไกลอีกมากมาย ซ่อนการทำงานอยู่ข้างหลัง ซึ่งตัวหลักสำคัญที่จะกล่าวต่อไปนี้คือการทำงานของ Domain Name System (DNS)

DNS เป็นระบบจัดการในการแปลงจากชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address (name-to-IP Address mapping) หรือในทางกลับกันมันก็สามารถแปลงจาก IP Address ไปเป็นชื่อที่มีการตั้งไว้ DNS ถือเป็นฐานข้อมูลแบบ กระจายชนิดหนึ่งที่มีการถูกเรียกใช้งานมากที่สุดและมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดบนโลกใบนี้ ในระบบ DNS จะมี การเก็บชื่อและ IP Address ของเครื่องที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบลักษณะการทำงานจะเป็นแบบ Client/Server โดยที่ตัว Server จะเป็นตัวเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็น DNS Server ผมจะขอยกตัวอย่างการทำงาน ดังรูปที่ 1 ดังนี้



สมมติว่ามีเครื่อง Client เครื่องหนึ่งใน บริษัทของ abc.com ต้องการจะเข้าไปดู ข้อมูลใน Website ที่ www.sanook.com ขั้นตอนที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้ใช้ทำการพิมพ์http://www.sanook.com แล้วกด Enter จนถึงได้เห็นข้อมูล Website ที่ ต้องการปรากฎขึ้นนั้น กลไกจะเป็นดังนี้ เครื่อง Client จะส่งคำสั่งขอข้อมูล หมายเลข IP Address ของ www.sanook.comไปที่ DNS Server ที่ดูแล โซนของ Client นี้ซึ่งก็คือ abc.com

(
ขั้นตอน ที่ 1) สมมติว่า DNS Server นี้ไม่มีข้อมูลมันจะทำการส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อไปยัง DNS Server ของ ISP

(ขั้นตอนที่
2) เครื่อง DNS Server ของ ISP ได้รับคำสั่งแล้วทำการค้นหาข้อมูล IP Address ที่ต้องการแต่สมมติว่าไม่ พบข้อมูลมันจึงทำการส่งคำสั่งขอข้อมูลไปยัง DNS Server ระดับสูงขึ้นไปอีก

(ขั้นตอนที่ 3)
DNS Server ระดับบนสุดได้รับการร้องขอก็จะทำการหาข้อมูลให้ แต่ก็ยังไม่สามารถจะตอบค่า IP Address กลับมาให้ได้เพราะไม่มีข้อมูลแต่รู้ว่า DNS Server ของ www.sanook.com อยู่ที่ IP อะไร จึงให้ข้อมูล IP Address 203.107.128.1 กลับมายัง DNS Server ของ ISP

(ขั้นตอนที่ 4) และส่งผ่านต่อมายัง DNS Server ของ
abc.com

(ขั้นตอนที่ 5)
DNS ของ abc.com จึงถามหา IP Address ไปที่ DNS ของ Sanook.com

(ขั้นตอนที่ 6)
แล้วได้คำตอบ กลับมาว่า IP ของ www.sanook.com นี่คือ 203.107.136.6

(ขั้นตอนที่ 7) จากนั้น DNS abc.com ก็บอกไปยังเครื่อง
Client ว่า IP เป็นอะไรข้างต้น

(ขั้นตอนที่ 8)
ถึงขั้นตอนนี้ Client จะรู้แล้วว่า www.sanook.com นั้นมี IP Address เท่ากับ 203.107.136.6 มันจึงร้อง ขอข้อมูลไปยัง IP Address นี้

(ขั้นตอนที่ 9)
แล้วก็ได้เห็นข้อมูลดังปรากฏในจอ จากขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่ามีการทำงานที่ซับซ้อนเพื่อให้การใช้งานของเราง่ายขึ้นและนี่ก็ คือบทบาทของ Domain Name System ที่ได้กล่าวมาแล้ว

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

มารู้จักความหมายของโดเมนกัน

-.com (Commercial) สำหรับกลุ่มองค์กรการค้า บริษัท องค์กร เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
-.net (Network) สำหรับกลุ่มองค์กรบริหารเครือข่าย
-.org (Non-profit Organization) สำหรับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
-.biz (Business) สำหรับเว็บไซต์ธุรกิจทั่วไป องค์กรการค้า บริษัท ห้างหุ้นส่วน
-.info (Information) สำหรับเว็บไซต์ให้ข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ
-.us (United States) สำหรับประเทศสหรัฐอเมริการซึ่งต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
-.co.th (Commercial in Thailand) สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
-.ac.th (Academic In Thailand) สำหรับสถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใน

ประเทศไทย
-.or.th (Organization) สำหรับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
-.in.th (Individual In Thailand) สำหรับหน่วยงานทุกประเภทและบุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ใน

ประเทศไทย
-.go.th (Government) สำหรับหน่วยงานภาครัฐบาล หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงหรือหน่วยงาน

รัฐบาลของประเทศไทย
-.mi.th สำหรับหน่วยงานทางทหารของประเทศไทย
-.net.th (Network In Thailand) สำหรับหน่วยงาน ที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต)
ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

DynDNS คือะไร

DynDNS หรือย่อมาจาก Dynamic DNS นั่นเอง? เป็นบริการง่ายๆ ที่สามารถทำให้เราเชื่อมโยงชื่ออะไรซักชื่อที่เราเลือก (Hostname) บนระบบอินเตอร์เน็ตเข้ากับ IP Address ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในโลกของระบบอินเตอร์เน็ตนั้นจะมี IP Address อย่างจำกัด ดังนั้นเมื่อนคุณทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน ISP ของคุณ เค้าก็จะให้ IP Address ชั่วคราว(Dynamic IP Address) ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเสมอ เพื่อใช้ในการอ้างอิงบนระบบอินเตอร์เน็ตเมื่อคุณออนไลน์อยู่นั่นเอง


แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณทำการตัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แล้ว IP Address ดังกล่าวก็จะถูกแจกจ่ายไปให้คนอื่นๆ ที่ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั่นเองครับ เค้าถึงเรียกว่า Dynamic IP ไงครับ หากเมื่อไรก็ตามที่คุณต้องการที่จะ สร้างเกมส์เซิฟเวอร์หรือเว็บเซิฟเวอร์เอง หรือบริการใดๆ ก็ตามที่ต้องการให้คนจากทั่วโลกทำการเชื่อมต่อมาที่เซิฟเวอร์ของคุณได้ แน่นอนครับ … เค้าจำเป็นที่จะต้องรู้ IP Address ของคุณนั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้จะไม่ง่ายเลยครับถ้า IP Address ที่คุณได้มาเป็นแบบ Dynamic ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ เพราะว่าคุณจำเป็นที่จะต้องบอกผู้คนที่ต้องการเข้ามาใช้บริการที่เครื่อง เซิฟเวอร์ของคุณว่าต้องนี้ IP Address ของคุณเปลี่ยนเป็นเบอร์อะไรไปแล้ว (จินตนาการง่ายๆ หากคุณเปลี่ยนเบอร์มือถือของคุณทุกๆ วันนั่นแหละครับ… เหนื่อแน่ๆ ที่จะต้องมานั่งบอกคุณที่อยากจะติดต่อกับคุณ)


จากปัญหาดังที่พูดไปนั่นแหละครับ เลยมีบริการที่เค้าเรียกว่า DynamicDNS เกิดขึ้นมาครับ ก็เพื่อที่จะเชื่อมโยงชื่อซักชื่อที่เราขอบริการ(บ้างก็ฟรีบ้างก็เสียเงิน) มาเชื่อมโยงกับ IP Address ที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลานั่นไงครับ ซึ่งหลังจากที่ทำการเชื่อมโยงเสร็จแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องจำและไปบอกใครๆ ว่า IP Address ของคุณคือเบอร์อะไร … แต่ใช้ชื่อแทนไงครับ … อย่างเช่นเว็บของเฮียตี๋ จดทะเบียนชื่อ suchinko.com เพื่อให้ง่ายต่อการจำ แล้วผมก็เซ็ตระบบโดยที่บอกว่า เมื่อไรก็ตามที่มีคนเข้าเว็บ suchinko.com ระบบจะทำการส่งต่อมาที่ชื่อ suchinko.dyndns.org ซึ่งเป็นชื่อที่ผมไปขอใช้บริการมาฟรีๆ จาก DynamicDNS.com เพื่อที่จะเอาชื่อ suchinko.dyndns.org มาเชื่อมโยงกับ IP Address ที่ ISP ให้ผมมาซึ่งมันจะเปลี่ยนไปตลอดเวลานั่นเองครับ … เป็นไงครับ พอจะเข้าใจหรือยังว่า DynamicDNS คืออะไร…


เกี่ยวกับการเปิดใช้ DynamicDNS service ซึ่งก่อนที่จะมี account และชื่อ dyndns ก็ต้องเข้าไปสมัครที่ http://www.dyndns.com/ ก่อนนะครับ